ทำน้ำพุจากหิน

 

ง่ายๆ ด้วยเครื่องคอริ่ง

จากคอริ่งโปร

 

ใครๆก็คิดว่าเครื่องคอริ่งเอาไว้ใช้ในงานก่อสร้างเท่านั้น แต่กลับมีบางคนมีความคิดสร้างสรรค์

ใช้ประโยชน์จากเครื่องคอริ่ง ที่สามารถเจาะรูกลมบนวัสดุผิวแข็งได้อย่างสวยงาม

เอามาทำ "น้ำพุจากหิน" 

ดูแปลก แต่สวยงาม เหมือนจริงซะจนบางทีคิดว่าเป็นหินรูปร่างพิเศษหายาก

แต่จริงๆแล้วไม่ใช่

 

แต่คอริ่งโปรเราจะมาบอกวิธีทำ  หากคุณมีเครื่องคอริ่งอยู่ มาทำตามเราในคลิปด้านล่างนี้เลย 

คุณจะเอาไปทำขาย  เอาไปตกแต่งบ้าน หรือมอบเป็นของขวัญก็ยังได้

สวย ไม่ซ้ำใคร ค่าใช้จ่ายในการทำแทบไม่มี ถูกมาก และทำง่าย 

 

สวย ดูดี ดูหรู เอาไปวางหน้าสำนักงาน หรือออฟิศ ก็เข้า หรือเอาไปเสริมฮวงจุ้ยก็ได้

นี่คือทำจากเครื่องคอริ่ง จากคอริ่งโปรตัวเดียวเลย

 

 

อย่าลืมแชร์ไว้บนเฟสบุคของคุณด้วยล่ะ 

Facebook Like Button

ใครคอริ่งดี ไม่ดี แย่ ห่วย เรารู้ได้

หลักฐานมันฟ้อง!!

จากกระบอกคอริ่ง

 

ทุกสิ่งทุกอย่างมีที่มาที่ไป และมีเหตุผลเสมอ  ในงานคอริ่งเราสามารถรู้ได้เลยว่าในแต่ละรู ช่างเจาะได้ดีแค่ไหน เพียงแค่ดูจากกระบอกคอริ่ง  เครื่องคอริ่ง  และรูที่เจาะ  ในคนที่มีประสบการณ์การคอริ่งมากส่วนใหญ่จะมองออกทำนายได้แม่นยิ่งกว่าหมอดูอีกว่า  ช่างคนนี้เจาะคอริ่งดีแค่ไหน ลักษณะการเจาะเป็นยังไง ใช้แต่แรง, ตั้งแท่นไม่ดี, ขี้เกียจเปิดน้ำ, ไม่ใส่ใจในการทำงาน (โหดูได้ขนาดนี้เชียว) นี่คือเรื่องจริงครับ ยิ่งช่างคอริ่งที่มีประสบการณ์มาก(รู้ขั้นตอนการทำงานอย่างถูกต้องนะ) จะมองออกอย่างทะลุปรุโปร่งเลย และก็ไม่สามารถโต้แย้งได้ด้วยนะเพราะเขาดูจาก "หลักฐานของคุณไง" คือ "กระบอกคอริ่ง"  นั่นเอง

คอริ่งโปรเราจะมาบอกว่าช่างพวกนี้รู้กันได้ยังไง แล้วให้คุณไปสังเกตุดูเอา ว่าจริงมั้ย  ไม่ใช่เพื่อจับผิด แต่ให้ไปตักเตือนช่างของคุณให้ทำงานให้ถูกต้อง เพื่อลดความเสียหายจากเครื่องมือให้ใช้ได้ดี เพราะถ้าใช้อย่างถูกต้อง งานจะออกมาดี เร็ว(มาก) สะดวก และไม่ติดขัด  มาดูกันเลยดีกว่า

 

นี่คือกระบอกคอริ่งที่เราจะมาสำรวจดูว่า คนที่ใช้งานมัน เจาะคอริ่งได้ดีหรือแย่แค่ไหน

อับดับ 1.  ดูสภาพกระบอกโดยรวม และผิวของกระบอกคอริ่ง เป็นยังไงบ้าง เรียบ, เป็นคลื่น, บุบ เป็นแบบไหน จากที่เห็นในรูปกระบอกมีรอยบุบ นั่นหมายความว่าช่างใช้ฆ้อน หรือ

ของแข็งทุบกระบอกคอริ่ง เพื่อเอาก้อนออก เป็นวิธีที่ผิดมากๆ มันทำให้กระบอกคอริ่งเสียรูป ไม่กลม เสียศูนย์ ทำให้แกว่งและไม่นิ่ง  ควรใช้วิธีแช่น้ำ เขย่า และใช้เหล็กเส้นกระแทกจากด้านในแทน

 

 

 

  ที่ผิว บางจุดมีรู ทะลุด้วย บ่งบอกถึงว่าเจาะได้แย่มากๆ ทำงานได้หยาบมากครับ รอยนี้บอกว่าใช้แต่แรงกดเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น กดๆ ให้ทะลุๆไป  พอเมื่อเจอเหล็ก หรือเศษเหล็ก หรือ สลิง  บางจังหวะที่เศษเหล็กขาด จะทำให้เกิดการสะดุดอย่างรุนแรง ดีดทะลุกระบอกอย่างที่เห็นในรูป

 

 

2. ดูด้านในกระบอกคอริ่ง มีก้อน หรืออะไรอุดตันไหม ตามปกติแล้วก้อนปูนคอริ่งจะไม่ค่อยติด ยกเว้นจากเหล็กในก้อนปูนหลุดมาขัดภายในทำให้ก้อนปูนติด(อันนี้เป็นเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นได้)  แต่! อีกกรณีเกิดจาก ความสะเพร่าของช่างผู้ใช้งาน รู้ได้ถึงความไม่รอบคอบ และไม่ใส่ใจในขณะทำงาน คือ เปิดน้ำไม่เพียงพอ, ไม่เปิดน้ำ, ไม่ดูน้ำขณะคอริ่ง  สาเหตุอาจจะมาจากหลายกรณีอย่างเช่น สายยางพับ, ปั๊มน้ำปลั๊กหลุด, เปิดวาล์วน้ำน้อย, น้ำหมดขี้เกียจเติมน้ำ, ก๊อกน้ำพัง ฯลฯ 

น้ำที่่น้อยจะทำให้เศษปูนไม่ระบายขึ้นมาด้านบน จะปั่นรวมอยู่ด้านล่างเป็นโคลนปูน และไปอัดอยู่ด้านในกระบอก นานเข้าจะยิ่งร้อนและแห้งทำให้ก้อนปูนติดที่ด้านในกระบอกท้ายที่สุด ทำให้น้ำอุดตันไม่ไหลลงมาที่ปลายกระบอก สุดท้ายคือ "ฟันคอริ่งหัก"  อันเป็นสาเหตุของข้อที่ 4.

 

3. ดูที่ผิวด้านในของกระบอกคอริ่ง  หากมีคราบปูนแห้งที่ติดหนา และแข็ง(อย่างในรูป) เป็นผลมากจากการใช้น้ำในการคอริ่งน้อยเกินไป โดยมีสาเหตุเดียวกันกับข้อ 2. แต่ในบางทีอาจจะไม่มีก้อนปูนติด แต่มีแต่คราบปูนแห้งอย่างเดียวก็ยังหมายความว่าใช้น้ำน้อยไปอยู่ดี

 

4. ดูที่ฟันคอริ่ง  ว่าหักไหม งุ้มเข้า หรือ งุ้มออกรึเปล่า แต่ในรูปเราจะเห็นฟันหักอยู่ ซึ่งเกิดได้หลายกรณี แต่จากข้อมูลในข้อ 1.-3. แล้ว กระบอกคอริ่งอันนี้ฟันหักจากการใช้น้ำน้อย ทำให้ไม่มีน้ำไประบายความร้อนที่ฟันคอริ่ง ไม่ได้หักจากเหตุสุดวิสัย แต่ฟันหักจากช่างที่ไม่ใส่ใจในการทำงาน ไม่รู้หรือไม่ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง(ถ้าช่างรู้ขันตอนอยู่แล้วควรจะทำตาม) ฟันที่ร้อนจัดจะทำให้รอยเชื่อมอ่อนตัวเมื่อสะดุดเศษต่างๆในรู ก็พร้อมที่จะหลุดออกไปโดยง่าย และถ้าช่างไม่สังเกตุความผิดปกติเช่น มีเสียงกระทบกันในรู หรือ กระบอกคอริ่งสะดุด จะทำให้ฟันที่หลุดออกไปตีฟันอื่นๆหลุดตาม หรือหลุดออกไปทุกซี่เลย

 

ที่กล่าวมาเป็นข้อสังเกตุง่ายๆคร่าวๆ ลองสังเกตุลูกน้อง หรือช่างของคุณดูหลังจากคอริ่งเสร็จแต่ละรู หยิบกระบอกคอริ่งๆมาหมุนดูตามวิธีที่เราให้ไว้ แล้วคุณจะพบว่า มันมีร่องรอยบอกใบ้คุณอยู่ครับ

 

กดแชร์ออกไปให้ทีมงานคุณรู้ เพราะคสามรู้งานคอริ่งพวกนี้ หาอ่านยาก และไม่มีบอกกันง่ายๆนะครับ

Facebook Like Button

 

รายการ coring world จะพาคุณไปดูงานคอริ่งต่างๆทั่วโลก ดูเทคนิค และวิธีการ

ที่ช่างคอริ่งประเทศต่างๆเขาประยุกต์ เป็นความรู้ ไว้สำหรับนำมาปรับใช้ และพัฒนาในการทำงานของคุณเองได้

บางทีคุณอาจจะคิดไม่ถึงว่าเจ้าเครื่องคอริ่งมันยังสามารถนำไปใช้ในลักษณะแบบอื่นๆได้อีก

ซึ่งคอริ่งโปรเราได้ นำวิธีการและความรู้ที่น่าสนใจมานำเสนอเป็นตอนๆสั้นๆ

ผ่านรายการที่ชื่อว่า "coring world" ให้คุณได้ชม

หากคุณเป็นคนนึงที่มีเครื่องคอริ่ง

หากคุณเป็นคนนึงที่ทำงานเกี่ยวกับงานคอริ่ง

หากคุณเป็นคนนึงที่ทำงานก่อสร้าง อากคาร ตึก สิ่งก่อสร้างต่างๆ

รายการนี้เหมาะสำหรับคุณโดยเฉพาะครับ

 

ดูจบแล้ว ช่วยกด like และ แชร์ ให้เราด้วยนะครับ

ถือว่าแทนคำขอบคุณ และกำลังใจจากคุณครับที่จะทำให้เราได้นำเสนอสิ่งที่มีประโยนชน์เช่นนี้ต่อไป 

สิ่งที่ต้องดู ในขณะการคอริ่ง

ต้องดูอะไรบ้าง

 

 

การคอริ่งเจาะแต่ละรู ต้องมีคนคุมเครื่องเพื่อป้อนพวงมาลัยให้เจาะลงไป  จะเจาะได้ดี ไม่ดี ฟันหัก เจาะช้า หรือเจาะเร็ว ขึ้นอยู่กับคนใช้งาน หรือคนคุมเครื่องเป็นสำคัญเช่นกัน

หากช่าง หรือคนเจาะมีทักษะ เอาใจใส่ในการเจาะแต่ละรู จะทำให้ลดโอกาสที่จะเจอปัญหา อย่าง ฟันคอริ่งหัก , กระบอกคอริ่งติด, เครื่องไหม้ ลงไปได้มาก ซึ่งทักษะดังต่อไปนี้คือสิ่งที่ช่าง ใช้เครื่องคอริ่งควรรู้และเอาไปทำครับ

  1. เช็คแท่นเครื่องขณะเจาะอยู่ตลอดว่า มั่นคง (ซึ่งมีโอกาสน็อตคลายหลวมได้ เนื่องจากการสั่นของเครื่องขณะเจาะ) โดยสังเกตุดูที่ขอบตรงฐานแท่นว่าขยับ หรือสั่นไหม ถ้าสั่นหยุดเครื่องแล้วขันอัดน็อตให้แน่นก่อน เจาะต่อ
  2. เช็คน้ำไหลดีไหม น้ำขาด หรือหมดรึยัง  ช่างบางคนเจาะเพลินไม่ดูน้ำ น้ำในถังหมดแล้วไม่เติมหรือหยุดเครื่องก่อน เพราะคิดว่าน้ำที่ขังอยู่ในรูก็ใช้ได้  เป็นสิ่งที่ผิดร้ายแรงมากนะครับ ต้องมีน้ำใหม่ไหลผ่านเข้าไปในกระบอกคอริ่งตลอดเวลา
    อีกกรณีก็คือ สายยางพับ หรือปั๊มเสีย ทำให้น้ำไหลได้ไม่เต็มที่ น้ำไหลเอื่อย ไหลน้อย ตรงนี้ก็ต้องสังเกตุด้วย  สำหรับคนที่ใช้ "กาลักน้ำ" ห้ามใช้วิธีนี้โดยเด็ดขาด ต้องใช้ปั๊มน้ำเท่านั้น นอกจากแรงดันน้ำจะไม่พอแล้ว อัตราการไหลของน้ำ
    ยังไม่เพียงพอ มันไม่ต่างอะไรกับการเจาะแห้งเท่าไร ดังนั้นอย่าใช้วิธีนี้นะครับ
  3. ต้องผ่อนแรงเมื่อเจอเหล็ก  แม้ว่าทางเราจะแนะนำ และพูดบ่อยมากกับลูกค้า และช่างทุกท่านของเรา ถึงเรื่องนี้ แต่บางทีช่างก็อดไม่ได้ ที่จะลักไก่กดเร่งเพื่อจะให้เจาะได้เร็วๆ อาจจะเป็นเพราะงานที่เร่ง หรือรีบจบงาน แต่ต้องพึงระลึกเสมอว่า
    หากกดตอนเจอเหล็กหมายความว่าเราจะเสียงกระบอกติด ฟันหัก และเครื่องไหม้ ไปด้วย เพราะถ้าเจอก็จบ เจาะต่อไม่ได้ ดังนั้นคิดดีๆ   สิ่งที่ควรทำคือ ถ้าตอนเราเจาะช่วงปูน เรากดแรงระดับไหน ตอนเจอเหล็ก ให้ผ่อนแรงลงมาครึ่งหนึ่ง แล้วเลี้ยงไว้
    จนกว่าจะพ้นช่วงเหล็กไป แล้วค่อยเพิ่มแรงได้ตอนช่วงปูน
  4. เช็คความผิดปกติเครื่องตอนใช้งานด้วย เช่น หากเครื่องสั่นมาก(หัวเครื่องสีน้ำเงิน) ระหว่างเจาะ นั่นหมายถึง แผ่นรองด้านในช่องที่เสียบกับรางสึกจนบาง หรือหลุดหายไป  แก้ไขโดยเปลี่ยนแผ่นยางรองใหม่ แต่เราสามารถใช้ดอกจันสีดำข้างๆเครื่องขันให้ตึง ไม่แน่น ก็จะช่วยลดการสั่นลงได้
    ใช้จนจบวันแล้วค่อย หาแผ่นรองมาเปลี่ยน
  5. ข้อสำคัญ เรื่องนี้สำคัญมาก เช็คแปงถ่าน อยู่เสมอ ถ้าเหลือครึ่งเดียว ให้เปลี่ยนใหม่ทันที เพราะถ้าใช้ต่อไปจนหมด มอเตอร์ไหม้ได้!! ช่างพลาดตรงนี้กันเยอะ เพราะแปรงถ่านต้องแนบสนิทกับขั้วมอเตอร์ทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้สะดวก
    ทำให้เครื่องมีแรงเต็มประสิทธิภาพ  เมื่อใช้ไปจนสึกและสั้นลง มันจะมี gap หรือช่องว่าง ทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านไม่ดี จะมีไฟสปาร์ค(มันคือไฟฟ้ากระโดดนั่นเอง )ตลอด ถ้าฝืนใช้ต่อไป แปรงถ่านจะยิ่งสั้นลงไฟสปาร์คก็ยิ่งแรงขึ้น เผาขั้วมอเตอร์จนไหม้ได้
    นี่คือสาเหตุหนึ่งของเครื่องไหม้มากที่สุดกรณีหนึ่ง

นี่ข้อหลักๆที่ควรรู้ และทำตาม ซึ่งยังมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆอีกเยอะซึ่งถ้าช่างมีประสบการณ์ และใส่ใจเรียนรู้จะทราบได้เองเช่นกัน และจะยิ่งใช้งานได้ดีขึ้นจนบางคน 2ปี เครื่องยังไม่พังเลยก็มีครับ
คนที่อ่าน และทราบ ก็ควรที่ไปบอก ไปแนะนำช่างของคุณด้วยนะ  ถือว่าลดโอกาสเสียเวลางานของคุณไปได้ แม้ว่าเครื่องคอริ่งของเราจะมีประกันให้ ไม่เสียเงินตอนซ่อมก็เถอะ

กดแชร์ ไปให้คนอื่นๆรับรู้ด้วยนะครับ

Facebook Like Button

 

 

ฟันคอริ่งหัก หลุด เกิดจากอะไร ?

ถ้าไม่นับการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง จะมีสาเหตุเพียง 1-2อย่างเท่านั้น

ที่ทำให้ฟันคอริ่งเสียหาย หัก , หลุด ,แตก ซึ่งเป็นโอกาสที่เกิดได้เป็นปกติ

และนี่คือสาเหตุอันดับ 1 เกือบ 90% ที่ทำให้ฟันคอริ่งหัก

 

สาเหตุที่ 1  เกิดจาก การเจาะคอริ่งตัดโดนเสี้ยวเหล็ก แบบในรูป

 

 

 

เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราจะเจาะ คอริ่งตัดโดนเหล็กที่ตำแหน่งไหน เพราะเรามองไม่เห็นมัน

มันอยู่ในปูน อยู่ในคอนกรีต  เศษเสี้ยวเหล็กที่โดนตัดออกมาในลักษณะแบบนี้ จะหลุดเป็นอิสระ

มันจะหมุนอยู่ในกระบอกคอริ่ง และมีโอกาสเข้าไปขัดระหว่างร่องฟันคอริ่ง  ทำให้กระบอกติด

หรือเวลาคอริ่งมีบางจังหวะจะสะดุด(ตรงนี้ถ้าช่างที่มีประสบการณ์จะรู้ และถอนกระบอกคอริ่ง

ออกก่อนเพื่อดูความเสียหายของฟันคอริ่ง และอาจจะเอาก้อนปูนออกก่อน เคลียร์เศษเหล็ก

หรือฟันคอริ่งที่หัก ออกจากรูเจาะแล้วค่อยเจาะต่อ)

 

หากตัดโดนเหล็กขาดทั้งเส้นแบบนี้ จะไม่มีปัญหาครับ เพราะเหล็กจะไม่หลุดออกมาเป็นอิสระ

 

ถือเป็นสาเหตุที่สุดวิสัย และมีโอกาศเกิดได้ตลอดเพราะ จุดเจาะแต่ละรูไม่เหมือนกัน เราไม่รู้ว่ารูไหนจะเจาะโดนอะไร โดนเหล็กแนวไหน(ถ้าไม่ได้แสกนพื้น) กรณีแบบนี้เกิดได้ทั้งผนัง และพื้น เราเพียงลดโอกาสเกิดได้เพียง "เมื่อเจาะถึงช่วงตัดเหล็ก เราควรผ่อนแรงกดที่พวงมาลัยลง ให้แค่ยันไว้พอ จนกว่าเหล็กจะขาด เมื่อถึงช่วงปูนจึงเพิ่มแรงกดต่อได้" (ซึ่งเราก็พูดถึงกรณีนี้ แจ้งอยู่ตลอด แต่คงไปไม่ถึงคนหน้างาน คนใช้งาน ตรงนี้ผู้ที่รับทราบจากเราต้องไปบอกและถ่ายทอดต่อให้แก่คนใช้ของคุณให้ทำตามนะครับ)

 

สาเหตุที่ 2  เกิดจาก การเจาะคอริ่งตัดผ่าเหล็ก ตามแนวยาว แบบในรูป

การคอริ่งโดนเหล็กลักษณะนี้ถือว่า โชคร้ายมาก นอกจะใช้เวลานานมากแล้ว(เนื่องจากตัดเหล็กอยู่ตลอด) ยังวัดความใจเย็นของช่าง หรือคนเจาะคอริ่งด้วยว่าอดทน และใจเย็นแค่ไหน ซึ่งถ้าหากช่างหมดความอดทนก่อนที่เหล็กจะขาด และออกแรงกดเพื่อเร่งเวลาแล้วละก็ จบแน่นนอน เพราะร่องเหล็กจะหนีบฟันคอริ่ง ทำให้กระบอกคอริ่งติด และสะดุด ตามมาด้วยฟันหัก ,หลุด หรือแตกได้

ซึ่งคำแนะนำก็เหมือกับในกรณีที่ 1

 

ทีนี้หลังจากที่คุณอ่าน และเข้าใจแล้ว ก็อย่าลืมอธิบายให้คนใช้งานได้เข้าใจ เพื่อที่จะลดโอกาสฟันหัก ทำให้งานคอริ่งคุณไม่มีปัญหา save เวลา save ค่าใช้จ่ายในการซ่อมฟันได้อีกด้วย

 

ช่วยแชร์ไปใน Line หรือ Facebook ให้ลูกน้อง หรือช่างของคุณได้รับรู้ จะได้ทำถูกต้องนะครับ

 

คอริ่งโปร (Coring Pro)

สาระน่ารู้เกี่ยวกับเครื่องคอริ่ง

คอริ่งใต้น้ำ


IMAGE
อีกระดับของงานคอริ่ง นอกเหนือการคอริ่งหรือเจาะรูปูน คอนกรีตอาคาร ตึก ถนน ยังมีงานที่เราคิดไม่ถึงอย่างการทำงานใต้น้ำด้วยการคอริ่ง... Read More...

ยึดแท่น เครื่องคอริ่ง ไม่ได้ ต้องทำยังไง ?


IMAGE
ยึดแท่น เครื่องคอริ่ง ไม่ได้ ต้องทำยังไง ?     เมื่อตำแหน่งที่ต้อง คอริ่ง กลับไม่สามารถยึดแท่น เครื่องคอริ่งได้ เช่น ในรูปด้านบนจะมีเหล็ก... Read More...

คอริ่งเจาะพื้น ทำไมถึงแตกต่างกัน ในแต่ละที่


IMAGE
เพราะเราไม่รู้ว่า พื้นแต่ละจุดมีอะไรอยู่ข้างในการคอริ่งที่รู้ข้อมูลพื้น ที่จะช่วยเราวางแผน และทำงานได้ไว คล่องขึ้นเช่น ถ้าเป็นพื้นเท... Read More...

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเครื่องคอริ่ง

ฟันคอริ่งหักเกิดจากอะไร


IMAGE
ฟันคอริ่งหัก หลุด เกิดจากอะไร ? ถ้าไม่นับการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง จะมีสาเหตุเพียง 1-2อย่างเท่านั้น ที่ทำให้ฟันคอริ่งเสียหาย หัก , หลุด ,แตก... Read More...

ทำน้ำพุจากหินด้วยเครื่องคอริ่ง


IMAGE
ทำน้ำพุจากหิน   ง่ายๆ ด้วยเครื่องคอริ่ง จากคอริ่งโปร   ใครๆก็คิดว่าเครื่องคอริ่งเอาไว้ใช้ในงานก่อสร้างเท่านั้น... Read More...

ใครคอริ่งดี ไม่ดี แย่ ห่วย เรารู้ได้ หลักฐานมันฟ้องจากกระบอกคอริ่ง


IMAGE
ใครคอริ่งดี ไม่ดี แย่ ห่วย เรารู้ได้ หลักฐานมันฟ้อง!! จากกระบอกคอริ่ง   ทุกสิ่งทุกอย่างมีที่มาที่ไป และมีเหตุผลเสมอ... Read More...