ฟันคอริ่งหัก หลุด เกิดจากอะไร ?
ถ้าไม่นับการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง จะมีสาเหตุเพียง 1-2อย่างเท่านั้น
ที่ทำให้ฟันคอริ่งเสียหาย หัก , หลุด ,แตก ซึ่งเป็นโอกาสที่เกิดได้เป็นปกติ
และนี่คือสาเหตุอันดับ 1 เกือบ 90% ที่ทำให้ฟันคอริ่งหัก
สาเหตุที่ 1 เกิดจาก การเจาะคอริ่งตัดโดนเสี้ยวเหล็ก แบบในรูป
เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราจะเจาะ คอริ่งตัดโดนเหล็กที่ตำแหน่งไหน เพราะเรามองไม่เห็นมัน
มันอยู่ในปูน อยู่ในคอนกรีต เศษเสี้ยวเหล็กที่โดนตัดออกมาในลักษณะแบบนี้ จะหลุดเป็นอิสระ
มันจะหมุนอยู่ในกระบอกคอริ่ง และมีโอกาสเข้าไปขัดระหว่างร่องฟันคอริ่ง ทำให้กระบอกติด
หรือเวลาคอริ่งมีบางจังหวะจะสะดุด(ตรงนี้ถ้าช่างที่มีประสบการณ์จะรู้ และถอนกระบอกคอริ่ง
ออกก่อนเพื่อดูความเสียหายของฟันคอริ่ง และอาจจะเอาก้อนปูนออกก่อน เคลียร์เศษเหล็ก
หรือฟันคอริ่งที่หัก ออกจากรูเจาะแล้วค่อยเจาะต่อ)
หากตัดโดนเหล็กขาดทั้งเส้นแบบนี้ จะไม่มีปัญหาครับ เพราะเหล็กจะไม่หลุดออกมาเป็นอิสระ
ถือเป็นสาเหตุที่สุดวิสัย และมีโอกาศเกิดได้ตลอดเพราะ จุดเจาะแต่ละรูไม่เหมือนกัน เราไม่รู้ว่ารูไหนจะเจาะโดนอะไร โดนเหล็กแนวไหน(ถ้าไม่ได้แสกนพื้น) กรณีแบบนี้เกิดได้ทั้งผนัง และพื้น เราเพียงลดโอกาสเกิดได้เพียง "เมื่อเจาะถึงช่วงตัดเหล็ก เราควรผ่อนแรงกดที่พวงมาลัยลง ให้แค่ยันไว้พอ จนกว่าเหล็กจะขาด เมื่อถึงช่วงปูนจึงเพิ่มแรงกดต่อได้" (ซึ่งเราก็พูดถึงกรณีนี้ แจ้งอยู่ตลอด แต่คงไปไม่ถึงคนหน้างาน คนใช้งาน ตรงนี้ผู้ที่รับทราบจากเราต้องไปบอกและถ่ายทอดต่อให้แก่คนใช้ของคุณให้ทำตามนะครับ)
สาเหตุที่ 2 เกิดจาก การเจาะคอริ่งตัดผ่าเหล็ก ตามแนวยาว แบบในรูป
การคอริ่งโดนเหล็กลักษณะนี้ถือว่า โชคร้ายมาก นอกจะใช้เวลานานมากแล้ว(เนื่องจากตัดเหล็กอยู่ตลอด) ยังวัดความใจเย็นของช่าง หรือคนเจาะคอริ่งด้วยว่าอดทน และใจเย็นแค่ไหน ซึ่งถ้าหากช่างหมดความอดทนก่อนที่เหล็กจะขาด และออกแรงกดเพื่อเร่งเวลาแล้วละก็ จบแน่นนอน เพราะร่องเหล็กจะหนีบฟันคอริ่ง ทำให้กระบอกคอริ่งติด และสะดุด ตามมาด้วยฟันหัก ,หลุด หรือแตกได้
ซึ่งคำแนะนำก็เหมือกับในกรณีที่ 1
ทีนี้หลังจากที่คุณอ่าน และเข้าใจแล้ว ก็อย่าลืมอธิบายให้คนใช้งานได้เข้าใจ เพื่อที่จะลดโอกาสฟันหัก ทำให้งานคอริ่งคุณไม่มีปัญหา save เวลา save ค่าใช้จ่ายในการซ่อมฟันได้อีกด้วย
ช่วยแชร์ไปใน Line หรือ Facebook ให้ลูกน้อง หรือช่างของคุณได้รับรู้ จะได้ทำถูกต้องนะครับ
คอริ่งโปร (Coring Pro)