สิ่งที่ต้องดู ในขณะการคอริ่ง

ต้องดูอะไรบ้าง

 

 

การคอริ่งเจาะแต่ละรู ต้องมีคนคุมเครื่องเพื่อป้อนพวงมาลัยให้เจาะลงไป  จะเจาะได้ดี ไม่ดี ฟันหัก เจาะช้า หรือเจาะเร็ว ขึ้นอยู่กับคนใช้งาน หรือคนคุมเครื่องเป็นสำคัญเช่นกัน

หากช่าง หรือคนเจาะมีทักษะ เอาใจใส่ในการเจาะแต่ละรู จะทำให้ลดโอกาสที่จะเจอปัญหา อย่าง ฟันคอริ่งหัก , กระบอกคอริ่งติด, เครื่องไหม้ ลงไปได้มาก ซึ่งทักษะดังต่อไปนี้คือสิ่งที่ช่าง ใช้เครื่องคอริ่งควรรู้และเอาไปทำครับ

  1. เช็คแท่นเครื่องขณะเจาะอยู่ตลอดว่า มั่นคง (ซึ่งมีโอกาสน็อตคลายหลวมได้ เนื่องจากการสั่นของเครื่องขณะเจาะ) โดยสังเกตุดูที่ขอบตรงฐานแท่นว่าขยับ หรือสั่นไหม ถ้าสั่นหยุดเครื่องแล้วขันอัดน็อตให้แน่นก่อน เจาะต่อ
  2. เช็คน้ำไหลดีไหม น้ำขาด หรือหมดรึยัง  ช่างบางคนเจาะเพลินไม่ดูน้ำ น้ำในถังหมดแล้วไม่เติมหรือหยุดเครื่องก่อน เพราะคิดว่าน้ำที่ขังอยู่ในรูก็ใช้ได้  เป็นสิ่งที่ผิดร้ายแรงมากนะครับ ต้องมีน้ำใหม่ไหลผ่านเข้าไปในกระบอกคอริ่งตลอดเวลา
    อีกกรณีก็คือ สายยางพับ หรือปั๊มเสีย ทำให้น้ำไหลได้ไม่เต็มที่ น้ำไหลเอื่อย ไหลน้อย ตรงนี้ก็ต้องสังเกตุด้วย  สำหรับคนที่ใช้ "กาลักน้ำ" ห้ามใช้วิธีนี้โดยเด็ดขาด ต้องใช้ปั๊มน้ำเท่านั้น นอกจากแรงดันน้ำจะไม่พอแล้ว อัตราการไหลของน้ำ
    ยังไม่เพียงพอ มันไม่ต่างอะไรกับการเจาะแห้งเท่าไร ดังนั้นอย่าใช้วิธีนี้นะครับ
  3. ต้องผ่อนแรงเมื่อเจอเหล็ก  แม้ว่าทางเราจะแนะนำ และพูดบ่อยมากกับลูกค้า และช่างทุกท่านของเรา ถึงเรื่องนี้ แต่บางทีช่างก็อดไม่ได้ ที่จะลักไก่กดเร่งเพื่อจะให้เจาะได้เร็วๆ อาจจะเป็นเพราะงานที่เร่ง หรือรีบจบงาน แต่ต้องพึงระลึกเสมอว่า
    หากกดตอนเจอเหล็กหมายความว่าเราจะเสียงกระบอกติด ฟันหัก และเครื่องไหม้ ไปด้วย เพราะถ้าเจอก็จบ เจาะต่อไม่ได้ ดังนั้นคิดดีๆ   สิ่งที่ควรทำคือ ถ้าตอนเราเจาะช่วงปูน เรากดแรงระดับไหน ตอนเจอเหล็ก ให้ผ่อนแรงลงมาครึ่งหนึ่ง แล้วเลี้ยงไว้
    จนกว่าจะพ้นช่วงเหล็กไป แล้วค่อยเพิ่มแรงได้ตอนช่วงปูน
  4. เช็คความผิดปกติเครื่องตอนใช้งานด้วย เช่น หากเครื่องสั่นมาก(หัวเครื่องสีน้ำเงิน) ระหว่างเจาะ นั่นหมายถึง แผ่นรองด้านในช่องที่เสียบกับรางสึกจนบาง หรือหลุดหายไป  แก้ไขโดยเปลี่ยนแผ่นยางรองใหม่ แต่เราสามารถใช้ดอกจันสีดำข้างๆเครื่องขันให้ตึง ไม่แน่น ก็จะช่วยลดการสั่นลงได้
    ใช้จนจบวันแล้วค่อย หาแผ่นรองมาเปลี่ยน
  5. ข้อสำคัญ เรื่องนี้สำคัญมาก เช็คแปงถ่าน อยู่เสมอ ถ้าเหลือครึ่งเดียว ให้เปลี่ยนใหม่ทันที เพราะถ้าใช้ต่อไปจนหมด มอเตอร์ไหม้ได้!! ช่างพลาดตรงนี้กันเยอะ เพราะแปรงถ่านต้องแนบสนิทกับขั้วมอเตอร์ทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้สะดวก
    ทำให้เครื่องมีแรงเต็มประสิทธิภาพ  เมื่อใช้ไปจนสึกและสั้นลง มันจะมี gap หรือช่องว่าง ทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านไม่ดี จะมีไฟสปาร์ค(มันคือไฟฟ้ากระโดดนั่นเอง )ตลอด ถ้าฝืนใช้ต่อไป แปรงถ่านจะยิ่งสั้นลงไฟสปาร์คก็ยิ่งแรงขึ้น เผาขั้วมอเตอร์จนไหม้ได้
    นี่คือสาเหตุหนึ่งของเครื่องไหม้มากที่สุดกรณีหนึ่ง

นี่ข้อหลักๆที่ควรรู้ และทำตาม ซึ่งยังมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆอีกเยอะซึ่งถ้าช่างมีประสบการณ์ และใส่ใจเรียนรู้จะทราบได้เองเช่นกัน และจะยิ่งใช้งานได้ดีขึ้นจนบางคน 2ปี เครื่องยังไม่พังเลยก็มีครับ
คนที่อ่าน และทราบ ก็ควรที่ไปบอก ไปแนะนำช่างของคุณด้วยนะ  ถือว่าลดโอกาสเสียเวลางานของคุณไปได้ แม้ว่าเครื่องคอริ่งของเราจะมีประกันให้ ไม่เสียเงินตอนซ่อมก็เถอะ

กดแชร์ ไปให้คนอื่นๆรับรู้ด้วยนะครับ

Facebook Like Button

 

 

สาระน่ารู้เกี่ยวกับเครื่องคอริ่ง

เครื่องคอริ่ง T-REX เจาะปูน เจาะพื้น เจาะคอนกรีต ได้ลึกเท่าไร ?


IMAGE
เครื่องคอริ่ง เจาะได้ลึกเท่าไร ?  คำถามนี้ ไม่มีบอก ในคู่มือครับ ไปดูได้เลยในทุกๆยี่ห้อ จะไม่มีบอกไว้ ความสามารถในการเจาะลึกสูงสุด... Read More...

หักแท่งปูนด้วย ฆ้อน และสกัด!!


IMAGE
เอาก้อนปูนออกแค่ใช้ ฆ้อน และสกัด!! ในงานคอริ่งเจาะคอนกรีตหนาๆ นั้นไม่สามารถที่จะเจาะทีเดียวทะลุได้ การหักก้อนปูน... Read More...

คอริ่งถนน นิยมใช้แบบไหน ในไทย? และต่างประเทศ?


IMAGE
คอริ่งถนน  นิยมใช้แบบไหน ในไทย? และต่างประเทศ?   การคอริ่งถนน นั้นคือการเจาะรูบนถนนเพื่อเอาก้อน ทรงกระบอกมาดูชั้นของถนนว่าอัดแน่นไหม... Read More...

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเครื่องคอริ่ง

กลัวเครื่องคอริ่ง Dongcheng ไม่ทน ?


IMAGE
กลัวไม่ทน? ก่อนอื่น ผมอยากให้คุณลองมองมุมนี้ดูครับ รถยนต์ญี่ปุ่น รถยุโรป ซื้อมาราคาเป็นแสนๆ เป็นล้าน... Read More...

เหลือเชื่อ พบรูที่ถูกเจาะบนหิน เมื่อ 3400 ปีก่อน เขาทำได้ยังไง?


รูบนหินเหล่านี้ คือหลักฐานของเครื่องมือเจาะในยุคโบราณ 1,450ปี ก่อนคริสตกาล(3,465 ปีก่อน)... Read More...

ใช้ก้านต่อยาวในงานคอริ่ง จะเกิดปัญหานี้ขึ้น


IMAGE
บางคนอาจจะรู้อยู่แล้วว่า การคอริ่งลึกๆ ต้องใช้ก้านต่อ แต่น้อยคนนะ จะรู้ว่า การใช้ก้านต่อคอริ่ง ต่อแบบยาวๆ มันจะส่าย    ... Read More...