คอริ่ง เจาะรูคอนกรีตได้เรียบๆ อย่างคอริ่ง หลังเจาะเสร็จเป็นยังไง?
นี่คือสภาพด้านนอก และด้านใน กระบอกคอริ่ง ทีเร็ก
หลังเจาะเสร็จ ด้วย เครื่องคอริ่ง บางคนอาจไม่เคยสังเกต
เราจะพามาดูกันใกล้ๆ
จะแสดงให้เห็นถึง กระบอกคอริ่ง และผิวรูที่ได้
ในรูปแรก จะเห็นก้อนคอริ่ง(เนื้อปูนที่โดนเจาะออก)
จะคาอยู่ในกระบอกคอริ่ง(ในเฉพาะท่าเจาะแนวนอน
ถ้าแนวตั้ง ก้อนจะร่วงลงไปข้างล่าง) ถ้าเราเจาะได้ดี
ก้อนคอริ่งที่คาอยู่ด้านในจะไม่แน่นติด(ถ้าก้อนติดแสดงว่าเจาะไม่ดีนะ) จะดึงออกได้เลย
ในรูปที่สอง เป็นผิวด้านในกระบอกคอริ่ง ซึ่งถ้าเทียบ
กับผิวรูคอนกรีต จะต่างระดับกันอยู่เล็กน้อยจาก ระดับฟันคอริ่ง
รูปที่สาม ผิวของรูที่เรียบ ไม่เป็นคลื่น แสดงว่าเจาะได้ตรง และกระบอกคอริ่งไม่เบียดระหว่างเจาะ แม้จะเจอเหล็ก
และตัดเหล็กก็ตาม ถ้าลองเอามือลูปผิวแล้วพบว่าเป็นคลื่น
ไม่เรียบเนียน แสดงว่ามีปัญหาในการเจาะ อาจจะเป็น ตั้งแท่นไม่ตรง,ไม่แน่น ,กดพวงมาลัยหนักไป ฯลฯ ซึ่งควรจะปรับปรุง
เพียงแค่สังเกต สิ่งต่างๆจากงานเล็กๆน้อยๆ
ก็สามารถทำให้เห็นคุณภาพงานที่ทำได้ แน่นอนว่า
คนทำงานแต่ละคนจะได้งานที่แตกต่างกันไป ตามทักษะ
และนิสัยในการทำงาน แต่ก็ควรทำให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
เพื่อลดปัญหาในระหว่างทำงานได้ ก็จะช่วยให้งานจบเร็ว และไม่เสียเวลา
เพื่อลดปัญหาในระหว่างทำงานได้ ก็จะช่วยให้งานจบเร็ว และไม่เสียเวลา