รูปภาพในรูคอริ่ง เจาะผ่านผนังคอนกรีต และผ่านแผ่นยางกันซึมในคอนกรีต ด้วยเครื่องคอริ่ง และกระบอกคอริ่ง

 

ในรูปคอริ่งนี้ มีสิ่งหนึ่งที่คุณอาจไม่รูปว่า มันใช้เวลาเจาะนานกว่าตอนช่วง เจาะเจอเหล็กมาก ในรูปมันคือตัวเส้นสีดำๆที่ปลายลูกศรชี้นั้นเอง
เมื่อคอริ่ง เจาะผ่านมันจะใช้เวลานานกว่าเหล็ก ถึง 5เท่า (สมมติว่าเหล็กขนาดความหนาพอๆกันใช้เวลา 15นาที ไอ้เส้นดำๆนี้ใช้เวลาเกือบ 1ชั่วโมง กว่าจะขาด )
ที่นานขนาดนี้เพราะไอ้เส้นดำๆนี้มันคือ " ยาง " ครับ  ชื่อเรียกมันคือ Rubber water stop หรือ แผ่นยางกันซึม นั่นเอง

 

รูปน่างหน้าตาแผ่นยางกันซึม ที่กระบอกคอริ่ง และเครื่องคอริ่งเมื่อเจอจะเจาะลำบาก มักเจาะผ่านเข้ายาก

 

ส่วนสาเหตุที่ใช้เวลา คอริ่งเจาะนานเพราะ มันเป็นยาง เวลากดพวงมาลัยแผ่นยางจะยืดออกและลื่นด้วย
ทำให้เจาะไม่เข้า เนื่องจาก ฟันกระบอกคอริ่ง นั้นไม่มีคมเพื่อที่จะกัด ฉีกขาด(กระบอกคอริ่ง นั้นเหมาะกับเจาะวัสดุผิวแข็งตัน)

วิธีเจาะแผ่นยางลักษณะนี้ คนเจาะจึงต้องออกแรงดันพวงมาลัยให้รู้สึกตึงอยู่ตลอด(เพื่อให้แผ่นยางยืดเต็มที่)  
และเลี้ยงไว้ รอจนฟันกระบอกคอริ่งขัดแผ่นยางนี้ออกจนขาด(แต่ก็ควรถอนกระบอก แล้วกดเข้าไปใหม่เป็นการไล่น้ำไประบายความร้อนปลายฟันคอริ่งด้วย) 

เจ้าแผ่นยางที่ว่านี้ เราสามารถพบเจอมันส่วนมากในผนังคอนกรีตเท มีลกัษณะเป็นเส้นยาวใช้ในการป้องกันการซึมผ่านของน้ำ
ระหวา่งรอยต่อคอนกรีต เช่น คานกับพื้น เป็นต้น โดยแผ่นยางกันซึมมึจะถูกวางระหว่างรอยต่อคอนกรีตสองส่วน
หรือเทคอนกรีตต่างเวลากัน แล้วเกิดรอยต่อไม่เป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำซึมผ่านรอยร้าว  
การเทปูนในแบบจึงจำเป็นต้องใช้ ยาง PVC กันซึม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมตรงช่วงรอยต่อ
ไม่ว่าจะเป็นพื้นกำแพง หรือช่วงคานกับกำแพง เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในภายหลัง เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว

 

เราสามารถเจอแผ่นยางกันซึมนี้ได้ ในงานคอริ่งทั่วไป ซึ่งส่วนมากจะเจอบ่อยเมื่อต้อง คอริ่งผนังคอนกรีต

 

แผ่นยางกันซึมนี้ มักใช้ในงานก่อสร้างทั่วไปที่มีโอกาสเจอความชื้น
หรือน้ำตลอดเวลา เช่น สระว่ายน้ำ ประตูเปิดปิดน้ำ คลองส่งน้ำ อาคารใต้ดิน บ่อน้ำ ชั้นใต้ดิน เขื่อน เป็นต้น

เครื่องคอริ่งที่เจาะพื้น มักไม่ค่อยเจอแผ่นกันซึม หรือเจอน้อย ส่วนมากงานคอริ่งพื้นจะเจาะเจอเหล็ก หรือสลิงมากกว่า

 

สำหรับแผ่นยางกันซึมนี้มักไม่ค่อยพบเจอ เมื่อเราคอริ่งพื้น เนื่องจากไม่ใช่ตำแหน่งที่แผ่นยางต้องใส่ หรือส่วนมากจะเจอตามช่วงรอยต่อระหว่างโครงสร้าง
อย่างพื้นกับผนัง ซึ่งในงานเจาะพื้น หรือคอริ่งพื้นเรามักจะเจาะเจอเหล็ก สลิง และท่อต่างๆที่ฝังอยู่ในพื้นมากกว่า
แต่ก็อาจจะเจอแผ่นพลาสติกฟิล์มดำกันความชื้นในพื้นได้(บางที่)
แต่ก็จะเจาะง่ายกว่า เพราะการเจาะพื้น เครื่องคอริ่ง จะติดตั้งในแนวตั้งฉากกับพื้น
เวลาเจาะจะได้น้ำหนักเครื่องที่ทิ้งไปตามแรงโน้มถ่วงช่วยด้วย วัสดุเนื้ออ่อน และให้ตัว(ยืดได้) เช่น ไม้ ยาง ฯลฯ เหล่านี้ กระบอกคอริ่ง จะเจาะผ่านได้ลำบาก
เนื่องจากเนื้อวัสดุไม่ได้แข็งเหมือนหิน หรือคอนกรีต ทำให้ฟันคอริ่งลื่น ขัดไม่เข้า
เพราะปลายฟันคอริ่งไม่ได้ออกแบบมาให้คมเหมือนใบเลื่อย
แต่จะเป็นลักษณะการขัดสีแบบกระดาษทรายมากกว่า โดยใช้ เครื่องคอริ่งเป็นต้นกำลังขับหมุน
นั่นคือหลักการเจาะของคอริ่ง นั้นเอง

 

#ชุดเจาะถนนทีเร็ก T-REX
#เครื่องคอริ่งทีเร็ก T-REX
โทร. 095-3838-021
ไลน์ : http://bit.ly/32jwvib

สาระน่ารู้เกี่ยวกับเครื่องคอริ่ง

คอริ่ง เจาะรูคอนกรีตได้เรียบๆ ด้วย เครื่องคอริ่ง หลังเจาะเสร็จเป็นยังไง?


IMAGE
คอริ่ง เจาะรูคอนกรีตได้เรียบๆ อย่างคอริ่ง หลังเจาะเสร็จเป็นยังไง?   นี่คือสภาพด้านนอก และด้านใน กระบอกคอริ่ง ทีเร็ก หลังเจาะเสร็จ ด้วย... Read More...

เก็บกระบอกคอริ่งยังไง ให้ถูกต้อง


IMAGE
เก็บกระบอกคอริ่งยังไง ให้ถูกต้อง ให้สภาพดี ใช้ได้นาน หากช่วงนั้นคุณกำลังใช้งานกระบอกคอริ่งอยู่ทุกวัน เมื่อเลิกงาน... Read More...

คอริ่งสะพาน ด้วย เครื่องคอริ่ง ทีเร็ก T-REX


IMAGE
    สั่ง เครื่องคอริ่ง ทีเร็ก T-REX ลงงานเจาะสะพานโทรลเวย์ Str(กำลังอัดคอนกรีต)500ksc สำหรับลูกค้าท่านนี้.กับการเจาะต่อรู ที่ใช้เวลามากกว่า... Read More...

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเครื่องคอริ่ง

เครื่องคอริ่งเสียงดัง มากไหม ดังแค่ไหน?


IMAGE
เครื่องคอริ่ง "เสียงดัง" มากไหม ดังแค่ไหน? อย่างแรกที่ผมอยากจะบอกคือ การเจาะและทำลายคอนกรีตที่ "ไม่มีเสียง" นั้น ไม่มีครับ!!! แต่จะมีแค่ว่า... Read More...

เวลาคอริ่งดูยังไงว่าเจอเหล็ก?


IMAGE
เวลาคอริ่งดูยังไงว่าเจาะเจอเหล็ก? จำไว้น่ะครับเจาะคอลิ่งเจอเหล็ก(ช่วงตัดผ่านเหล็ก) ต้องผ่อนแรงกดพวงมาลัยลง... Read More...

รายการ coring world ตอนที่ 1


IMAGE
รายการ coring world จะพาคุณไปดูงานคอริ่งต่างๆทั่วโลก ดูเทคนิค และวิธีการ ที่ช่างคอริ่งประเทศต่างๆเขาประยุกต์ เป็นความรู้ ไว้สำหรับนำมาปรับใช้... Read More...