ใครคอริ่งดี ไม่ดี แย่ ห่วย เรารู้ได้
หลักฐานมันฟ้อง!!
จากกระบอกคอริ่ง
ทุกสิ่งทุกอย่างมีที่มาที่ไป และมีเหตุผลเสมอ ในงานคอริ่งเราสามารถรู้ได้เลยว่าในแต่ละรู ช่างเจาะได้ดีแค่ไหน เพียงแค่ดูจากกระบอกคอริ่ง เครื่องคอริ่ง และรูที่เจาะ ในคนที่มีประสบการณ์การคอริ่งมากส่วนใหญ่จะมองออกทำนายได้แม่นยิ่งกว่าหมอดูอีกว่า ช่างคนนี้เจาะคอริ่งดีแค่ไหน ลักษณะการเจาะเป็นยังไง ใช้แต่แรง, ตั้งแท่นไม่ดี, ขี้เกียจเปิดน้ำ, ไม่ใส่ใจในการทำงาน (โหดูได้ขนาดนี้เชียว) นี่คือเรื่องจริงครับ ยิ่งช่างคอริ่งที่มีประสบการณ์มาก(รู้ขั้นตอนการทำงานอย่างถูกต้องนะ) จะมองออกอย่างทะลุปรุโปร่งเลย และก็ไม่สามารถโต้แย้งได้ด้วยนะเพราะเขาดูจาก "หลักฐานของคุณไง" คือ "กระบอกคอริ่ง" นั่นเอง
คอริ่งโปรเราจะมาบอกว่าช่างพวกนี้รู้กันได้ยังไง แล้วให้คุณไปสังเกตุดูเอา ว่าจริงมั้ย ไม่ใช่เพื่อจับผิด แต่ให้ไปตักเตือนช่างของคุณให้ทำงานให้ถูกต้อง เพื่อลดความเสียหายจากเครื่องมือให้ใช้ได้ดี เพราะถ้าใช้อย่างถูกต้อง งานจะออกมาดี เร็ว(มาก) สะดวก และไม่ติดขัด มาดูกันเลยดีกว่า
นี่คือกระบอกคอริ่งที่เราจะมาสำรวจดูว่า คนที่ใช้งานมัน เจาะคอริ่งได้ดีหรือแย่แค่ไหน
อับดับ 1. ดูสภาพกระบอกโดยรวม และผิวของกระบอกคอริ่ง เป็นยังไงบ้าง เรียบ, เป็นคลื่น, บุบ เป็นแบบไหน จากที่เห็นในรูปกระบอกมีรอยบุบ นั่นหมายความว่าช่างใช้ฆ้อน หรือ
ของแข็งทุบกระบอกคอริ่ง เพื่อเอาก้อนออก เป็นวิธีที่ผิดมากๆ มันทำให้กระบอกคอริ่งเสียรูป ไม่กลม เสียศูนย์ ทำให้แกว่งและไม่นิ่ง ควรใช้วิธีแช่น้ำ เขย่า และใช้เหล็กเส้นกระแทกจากด้านในแทน
ที่ผิว บางจุดมีรู ทะลุด้วย บ่งบอกถึงว่าเจาะได้แย่มากๆ ทำงานได้หยาบมากครับ รอยนี้บอกว่าใช้แต่แรงกดเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น กดๆ ให้ทะลุๆไป พอเมื่อเจอเหล็ก หรือเศษเหล็ก หรือ สลิง บางจังหวะที่เศษเหล็กขาด จะทำให้เกิดการสะดุดอย่างรุนแรง ดีดทะลุกระบอกอย่างที่เห็นในรูป
2. ดูด้านในกระบอกคอริ่ง มีก้อน หรืออะไรอุดตันไหม ตามปกติแล้วก้อนปูนคอริ่งจะไม่ค่อยติด ยกเว้นจากเหล็กในก้อนปูนหลุดมาขัดภายในทำให้ก้อนปูนติด(อันนี้เป็นเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นได้) แต่! อีกกรณีเกิดจาก ความสะเพร่าของช่างผู้ใช้งาน รู้ได้ถึงความไม่รอบคอบ และไม่ใส่ใจในขณะทำงาน คือ เปิดน้ำไม่เพียงพอ, ไม่เปิดน้ำ, ไม่ดูน้ำขณะคอริ่ง สาเหตุอาจจะมาจากหลายกรณีอย่างเช่น สายยางพับ, ปั๊มน้ำปลั๊กหลุด, เปิดวาล์วน้ำน้อย, น้ำหมดขี้เกียจเติมน้ำ, ก๊อกน้ำพัง ฯลฯ
น้ำที่่น้อยจะทำให้เศษปูนไม่ระบายขึ้นมาด้านบน จะปั่นรวมอยู่ด้านล่างเป็นโคลนปูน และไปอัดอยู่ด้านในกระบอก นานเข้าจะยิ่งร้อนและแห้งทำให้ก้อนปูนติดที่ด้านในกระบอกท้ายที่สุด ทำให้น้ำอุดตันไม่ไหลลงมาที่ปลายกระบอก สุดท้ายคือ "ฟันคอริ่งหัก" อันเป็นสาเหตุของข้อที่ 4.
3. ดูที่ผิวด้านในของกระบอกคอริ่ง หากมีคราบปูนแห้งที่ติดหนา และแข็ง(อย่างในรูป) เป็นผลมากจากการใช้น้ำในการคอริ่งน้อยเกินไป โดยมีสาเหตุเดียวกันกับข้อ 2. แต่ในบางทีอาจจะไม่มีก้อนปูนติด แต่มีแต่คราบปูนแห้งอย่างเดียวก็ยังหมายความว่าใช้น้ำน้อยไปอยู่ดี
4. ดูที่ฟันคอริ่ง ว่าหักไหม งุ้มเข้า หรือ งุ้มออกรึเปล่า แต่ในรูปเราจะเห็นฟันหักอยู่ ซึ่งเกิดได้หลายกรณี แต่จากข้อมูลในข้อ 1.-3. แล้ว กระบอกคอริ่งอันนี้ฟันหักจากการใช้น้ำน้อย ทำให้ไม่มีน้ำไประบายความร้อนที่ฟันคอริ่ง ไม่ได้หักจากเหตุสุดวิสัย แต่ฟันหักจากช่างที่ไม่ใส่ใจในการทำงาน ไม่รู้หรือไม่ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง(ถ้าช่างรู้ขันตอนอยู่แล้วควรจะทำตาม) ฟันที่ร้อนจัดจะทำให้รอยเชื่อมอ่อนตัวเมื่อสะดุดเศษต่างๆในรู ก็พร้อมที่จะหลุดออกไปโดยง่าย และถ้าช่างไม่สังเกตุความผิดปกติเช่น มีเสียงกระทบกันในรู หรือ กระบอกคอริ่งสะดุด จะทำให้ฟันที่หลุดออกไปตีฟันอื่นๆหลุดตาม หรือหลุดออกไปทุกซี่เลย
ที่กล่าวมาเป็นข้อสังเกตุง่ายๆคร่าวๆ ลองสังเกตุลูกน้อง หรือช่างของคุณดูหลังจากคอริ่งเสร็จแต่ละรู หยิบกระบอกคอริ่งๆมาหมุนดูตามวิธีที่เราให้ไว้ แล้วคุณจะพบว่า มันมีร่องรอยบอกใบ้คุณอยู่ครับ
กดแชร์ออกไปให้ทีมงานคุณรู้ เพราะคสามรู้งานคอริ่งพวกนี้ หาอ่านยาก และไม่มีบอกกันง่ายๆนะครับ
Facebook Like Button