อีกระดับของงานคอริ่ง
นอกเหนือการคอริ่งหรือเจาะรูปูน คอนกรีตอาคาร ตึก ถนน ยังมีงานที่เราคิดไม่ถึงอย่างการทำงานใต้น้ำด้วยการคอริ่ง แน่นอนว่าถ้าคุณอยากเจาะรูหินในทะเล สำหรับงานธรณีวิทยา หรือแม้แต่ติดตั้งอุปกรณ์ใต้น้ำตรงท่าเรือ ก็ต้องใช้การคอริ่งนี่ล่ะครับ งั้นมาดูเครื่องมือกันหน่อยดีกว่าว่าการเจาะคอริ่งใต้น้ำต้องมีอะไรพิเศษกว่าปกติยังไง
1. เครื่องคอริ่งที่ไม่ใช่ระบบไฟฟ้า ถ้าใช้งานใต้น้ำจะใช้ระบบไฮดรอลิกส์ หรือ นิวเมทิกส์(ลม)
ที่ใช้ไฟฟ้าไม่ได้ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าใช้งานไม่ได้แน่นอนและยังเป็นอันตรายอีกด้วยแม้จะกันน้ำได้ก็ตาม ภายในเครื่องคอริ่งแบบนี้จะแตกต่างกันไปตามชนิด เช่น เครื่องคอริ่งแบบไฮดรอลิกส์ ก็จะไม่เหมือนกับ เครื่องคอริ่งแบบใช้ลม แต่ยังคงหลักการเดียวกันคือการหมุนขับกระบอกคอริ่งให้ได้
แบบมือถือ
แบบตั้งแท่น
สามารถใช้ได้ทั้งแบบมือถือ และแบบตั้งแท่น ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันคือ แบบมือถือนั้นสะดวกกว่าในการเคลื่อนย้าย เจาะหลายๆจุดแต่ แบบแท่นก็จะเจาะได้ง่ายกว่าเพราะหมุนตามราง คนเจาะลอยได้หมุนพวงมาลัยอย่างเดียว
2. กระบอกคอริ่ง - ตัวกระบอกคอริ่งจะเหมือนกับกระบอกธรรมดาที่ใช้งานบนบกทั่วๆไปสามารถใช้ร่วมกันได้เลย ไม่มีอะไรแตกต่าง
3. ปั๊มไฮดรอลิกส์ หรือปั๊มลม - ตัวนี้จะตั้งอยู่บนบกเป็นตัวส่งกำลังลงมายังเครื่องคอริ่งนั้นเอง
มาดูคลิปของจริงกันดีกว่า(หาดูยาก)
Thanks : http://www.marineacs.com.au/coring_&_drilling.html
https://www.youtube.com/watch?v=_5KmkdSLfRA