คอริ่งถนน  นิยมใช้แบบไหน ในไทย? และต่างประเทศ?

 

การคอริ่งถนน นั้นคือการเจาะรูบนถนนเพื่อเอาก้อน ทรงกระบอกมาดูชั้นของถนนว่าอัดแน่นไหม รูพรุนเยอะ หรือร่วนไหม ได้ตามสเปคที่ต้องการรึเปล่า

รวมถึงความหนาชั้นถนนด้วย  ในถนนคอนกรีตอาจจะต้องมีการเอาก้อนไปกดทดสอบเพื่อหาค่าความแข็งด้วยสำหรับถนนคอนกรีต

  

 

เมื่อใช้เครื่องคอริ่งเจาะแล้ว ก็จะได้ก้อน หรือแท่งทรงกระบอกหน้าตาแบบนี้
ซึ่งที่ผิวแท่ง หรือก้อนคอริ่งเราจะเห็นผิวชั้นของถนนได้ และชั้นถนนจะแตกต่างกัน
ตามชนิดถนน เช่น ถนนคอนกรีต ก้อนคอริ่งที่เจาะออกมาก็จะเป็นแท่งคอนกรีต
หรือ ถนนยางมะตอยเราก็จะเห็นชั้นบนก้อนคอริ่งเป็นยางมะตอย หรือถนนรีไซกลิ้ง
ก็ได้ก้อนหินบดอัดนั่นเอง  

 

 แล้วการจะคอริ่งถนน ต้องทำยังไง? 

อันดับแรกเลยในงานเจาะถนนเพื่อทดสอบ หรือใช้งานลักษณะนี้ต้องมีเครื่องมือที่เรียกว่า "เครื่องคอริ่ง" เจ้าเครื่องตัวนี้ใช้คู่กับ กระบอกคอริ่ง ซึ่งเป็นหัวเจาะเปรียบเหมือนดอกสว่าน
เครื่องเจาะถนนในบ้านเรา ในตอนนี้ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องคอริ่งที่มีลักษณะตามรูปข้างบน พร้อมแท่นคอริ่งเจาะถนนเป็น Set สำหรับงานคอริ่งถนน จะใช้ควบคู่กับเครื่องปั่นไฟขนาด 5kW ที่วางอยู่ด้านท้ายกระบะ
สำหรับชุดเครื่องคอริ่งเจาะถนนนั้นมีล้อก็สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ซึ่งจะต้องเจาะ sample ตามระยะถนนทุกๆ 1-2 กม. 

 

ในประเทศไทย การเจาะทดสอบถนน หรือคอริ่งถนน สมัยปัจจุบันเครื่องคอริ่งจะเป็นแบบในรูป เป็นเครื่องคอริ่งไฟฟ้า เบาสะดวก และพกพาง่ายโดยแยกเป็น 2ส่วนคือ เครื่องปั่นไฟฟ้าจะอยู่บนรถ(ท้ายกระบะ) และส่วนเคลื่อนที่หรือชุดเจาะ จะเป็นชุดคอริ่งพร้อมแท่นเคลื่อนที่ในการเข็นเคลื่อนย้ายซึ่งนิยมเปลี่ยนมาใช้แบบนี้แล้วโดยทั้งหน่วยงานกรมทางหลวง จังหวัดต่างๆ และผู้รับเหมางานถนนเอกชน  

 

 

 

ในสมัยก่อน แรกๆเครื่องคอริ่งในไทยจะเป็นเครื่องคอริ่งแบบเครื่องยนต์ ตัวใหญ่ น้ำหนักเยอะ(สมัยนั้นเครื่องคอริ่งไฟฟ้ายังไม่มี) ข้อดีของมันคือใช้น้ำมัน จึงไม่จำเป็นต้องมีเครื่องปั่นไฟ   แต่ในการทำงานค่อนข้างจะช้า และไม่สะดวกในการเครื่อนย้าย เพราะต้องยกขึ้น-ยกลง ด้วยน้ำหนักที่เยอะ ต้องใช้คนเยอะ 2-3คน ในการขน เพราะในการเจาะทดสอบถนนทางไหลหลายกิโล เจาะเป็นสิบๆรูทำให้ต้องยกขึ้นลงเป็นสิบๆครั้ง

ปัจจุบันจึงนิยมเครื่องคอริ่งแบบไฟฟ้ามากกว่า ที่จับเข็นลากไปพร้อมกับรถได้เลย  ส่วนเรื่องราคา เครื่องคอริ่งทั้งสองแบบราคาพอๆกัน 

เครื่องคอริ่งแบบเครื่องยนต์ ที่นิยมใช้ในสมัยก่อน
 

 

อีกหนึ่งข้อสังเกตของเครื่องคอริ่งแบบเครื่องยนต์คือ การหมุนมันไม่สมูทหรือเรียบ เพราะเครื่องยนต์ มีจังหวะ ทำให้ก้อนแตกอยู่บ่อย(ไม่เป็นแท่งเดียว) และจะต้องเจาะใหม่ อยู่บ่อยครั้ง 

 

เครื่องคอริ่งใช้เจาะถนนในต่างประเทศ

ในต่างประเทศโซนยุโรป หรือตะวันตกที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี มักใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย และมีมาตรฐานสูง(และราคาก็สูงมากถ้าเทียบกับราคางานในบ้านเรา)
เพราะกฎหมายบังคับ และมีบทลงโทษรุนแรง(ไม่เหมือนบ้านเรา)  ทีนี้เราจะพามาดู และเปิดเผยถึงอุปกรณ์ที่พวกเขาใช้ในงานคอริ่งถนนในต่างประเทศกัน
 
 
 
จะเห็นว่า ในต่างประเทศนั้นใช้เครื่องคอริ่งแบบไฟฟ้า แต่ใช้ติดพ่วงรถกระบะซึ่งทำเป็นยูนิตโดยเฉพาะเลย ติดไฟสำหรับส่องกลางคืน และมีแทงค์น้ำ
พร้อมเลย สามารถใส่น้ำได้จำนวนมาก  และมีพื้นที่ขนอุปกรณ์ต่างๆได้ครบ เรียกว่ามาคนเดียวก็ทำงานได้
 
ตัวนี้ติดพ่วงท้ายเหมือนกันแต่ เป็นเครื่องคอริ่งระบบไฮดรอลิกส์ เพราะใช้เจาะคอริ่งขนาดใหญ่(เครื่องไฟฟ้า
และเครื่องยนต์ขับไม่ไหว เพราะใช้กับกระบอกได้ไม่เกิน 10-12")
 
 
ตัวนี้ใช้เหมือนแบบบ้านเราตอนนี้เลยครับ
 
 
สองรูปนี้มาเป็นติดพ่วงเหมือนแบบแรกครับ  มาแบบจัดเต็มเป็นทางการ
 
 
และนี้คือการทำงานขั้นตอนสุดท้ายของการทำถนน ก็คือการคอริ่งถนน เป็นการตรวจสอบสเปคถนน ว่าได้ตามมาตรฐานไหม ถ้าผ่านก็สามารถให้รถวิ่งได้
เราก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างการทำงาน และเครื่องมือระหว่างประเทศไทยเรา กับต่างประเทศ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอน และมาตรฐานงานแต่ละประเทศ
ที่ทำให้เครื่องมือที่ใช้ทำงานแตกต่างไปตามพื้นที่  แต่ยังไงก็ตามทุกที่ต่างใช้เทคโนโลยีและหลักการเดียวกัน คือการคอริ่งนั่นเองครับ
 

อย่าลืมแชร์ไว้บนเฟสบุคของคุณด้วยล่ะ

Facebook Like Button